วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

GALAXY GRAND มอบพื้นที่หน้าจอสูงสุดบนสมาร์ทโฟนที่เพรียวบาง คุณสมบัติพร้อมสรรพ รองรับความบันเทิงแบบพกพาได้อย่างไร้ขีดจำกัด เพลิดเพลินกับวิดีโอ เกม และเว็บบนจอแสดงผลขนาดใหญ่ที่คมชัดสดใส ขณะที่ถือโทรศัพท์ไว้เพียงมือเดียว หน้าจอขนาดใหญ่กว่า ตัวเครื่องเพรียวบางกว่า สมบูรณ์แบบสำหรับการเล่นเกม ดูวิดีโอ หรือท่องเว็บ

หน้าจอขนาดใหญ่ 5นิ้ว


GALAXY Grand ด้วยหน้าจอใหญ่ขนาด 5.0 นิ้ว แสดงผลสีสดใส เป็นธรรมชาติ ภาพใหญ่ชัด เต็มตา ให้คุณดูหนัง เล่นเกมส์ เต็มอรรถรสมากกว่าและสะดวกสบายยิ่งขึ้น กับการอ่านหนังสือ หรือ เข้าอินเตอร์เนตขนาดยังเหมาะมือ ถือแล้วมีสไตล์ อินเทรนด์ไม่แพ้ใคร

ดีไซน์แบบพกพา


ดีไซน์ที่เพรียวบางเพิ่มความสะดวกในการพกพา GALAXY Grand
สำหรับผู้ที่ต้องการมีหน้าจอขนาดใหญ่ โดยไม่
บั่นทอนขีดความสามารถในการพกพา

Jelly Bean OS


ขับ เคลื่อนด้วย Android™ 4.1.2 (Jelly Bean) รุ่นล่าสุดของระบบปฏิบัติการสมาร์ทโฟนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก Jelly Bean แสดงผลได้อย่างรวดเร็ว ลื่นไหล และราบรื่น
พร้อมด้วยประสบการณ์ Google Search™ ที่ใช้ Google Now™ ซึ่งนำเสนอข้อมูลที่เหมาะสมให้แก่คุณก่อนที่คุณจะถามหาเสียอีก

Multi Window


เต็ม ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกับฟังก์ชั่นอันชาญฉลาด อย่าง Multi Window แบ่งหน้าจอเล่น 2 แอพพลิเคชั่นพร้อมกันคุณจึงสามารถทำงานแบบ Multi Tasking ได้ อย่างสะดวกสบายกับการอ่านอีเมล์เรียกดูเว็บ หรือ ส่งข้อความในหน้าจอเดียวกัน

Dual SIM Always On สองซิม ออนตลอด


SIMที่1 โทร.อยู่ เมื่อสายเข้า SIMที่2
สายจะถูกโอนเข้า SIMที่1 เป็นสายซ้อนเลือกรับหรือประชุมสายก็ได้
ทำให้คุณไม่พลาดทุกการรับสายทั้งงานและส่วนตัว ทั้งยังจัดการSIMค่าโทร.และค่าเนตได้ในแบบของคุณ

กล้องหลัง 8 ล้านพิกเซลพร้อมแฟลช กล้องหน้า 2 ล้านพิกเซล


เพลิด เพลินกับการถ่ายภาพที่คมชัด เปิดใช้งานกล้องได้รวดเร็วด้วยzero shutter lag รวมถึงสนุกไปกับการปรับแต่งสีภาพได้ทันที และยังสามารถถ่ายวีดีโอระดับ Full HD ได้จากกล้องหลัง คุณจึงสามารถบันทึกทุกความประทับใจได้อย่างเต็มที่ในแบบของคุณ

ตำราเรียนดิจิทัล - ฉลาดคิด

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 00:00 น.
ด้วยงบประมาณที่จำกัดของภาครัฐ  ตำราเรียนเดิม ๆ ที่ขาดสีสันอาจจะสวนทางกับนโยบายที่ต้องการจะเห็นเยาวชนของชาติมีพัฒนาการ ด้านการเรียนที่ดีขึ้น

…เพราะหนังสือเรียนคงไม่ดึงดูดใจเด็ก ๆ ได้เท่ากับหนังสือการ์ตูน …

เพื่อปฏิวัติวงการตำราเรียนครั้งใหญ่ของประเทศไทย  สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช (วพ.) ที่พิมพ์ตำราเรียนมากว่า 73 ปี ร่วมกับบริษัท ดิ แอสไพเรอร์ส กรุ๊ป ตัวแทนจำหน่ายและรวบรวมระบบด้านการศึกษาของบริษัท แอปเปิ้ล ประเทศไทย  พัฒนา “ตำราเรียนดิจิทัลบนไอแพด” พร้อมโซลูชั่นบริหารจัดการการเรียนการสอนยุคใหม่อย่างครบวงจร

“นายวรชัย จงพิพัฒนสุข” กรรมการบริหารบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด บอกว่า เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วมาก หนังสือกระดาษอาจไม่ใช่ทิศทางของเด็กในยุคหน้า  สำนักพิมพ์จึงต้องมีการปรับตัว ซึ่งเดิมคาดว่าคงต้องใช้เวลาอีก 3-5 ปี ในการเปลี่ยนแปลง

แต่วันนี้...เนื่องจากโครงการแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาของรัฐบาล ทำให้การเปลี่ยนแปลงนี้เร็วกว่าที่คิด วพ. จึงพัฒนาตำราเรียนดิจิทัล  ซึ่งใช้เทคโนโลยีของแอปเปิ้ลที่เรียกว่า “iBooks Author” ในการผลิต  ใช้งานกับเครื่องไอแพด หรือระบบปฏิบัติการไอโอเอส   

เบื้องต้นพัฒนาตำราเรียนดิจิทัลแล้วเสร็จ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทั้งหมด

สำหรับตำราเรียนดิจิทัล นายวรชัย บอกว่า ไม่ใช่แค่ทำให้เด็กนักเรียนแบกกระเป๋าที่น้ำหนักน้อยลง  ลดการใช้กระดาษหรือว่าลดต้นทุนเท่านั้น    แต่ยังมีคุณสมบัติที่เหนือกว่า โดยเฉพาะลดข้อจำกัดด้านการปรับปรุงหรืออัพเดทข้อมูลให้ทันสมัยเสมอ   ซึ่งปัจจุบันหากเป็นตำราเรียนจะต้องใช้นานถึง 5 ปี ถึงจะพิมพ์ได้ใหม่อีกครั้ง

นอกจากนี้ยังเป็นการเรียนรู้แบบอินเทอร์แอ๊คทีฟ ไม่ได้มีแค่ตัวหนังสือ แต่จะมีวิดีโอ มีระบบจดโน้ตและไฮไลต์ข้อความที่สำคัญ รวมถึงเชื่อมโยงกับเว็บไซต์ และแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ได้ทั่วโลก
ระบบนี้จะทำงานสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับคลังข้อสอบ ระบบฐานข้อมูลธุรการของโรงเรียน  สามารถวิเคราะห์ผลการเรียนผลการสอนเด็กได้แบบเรียลไทม์ ช่วยให้ผู้ปกครองและโรงเรียน สามารถเข้าไปแก้ไข สอนเสริมสอนเพิ่มให้เด็กนักเรียนได้ทันการ ไม่ต้องรอผลการสอบกลางภาคหรือปลายภาค เรียกว่าเป็นโซลูชั่นและเนื้อหา รวมถึงแอพพลิเคชั่นใหม่ ๆ สำหรับบุกตลาดการศึกษา  ซึ่ง วพ. มองว่าเฉพาะเนื้อหา ไม่นับฮาร์ดแวร์ซอฟต์แวร์  ตลาดนี้ซึ่งมีนักเรียนประมาณ 10 ล้านคน จะมีมูลค่าตลาดไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาทต่อปี

ด้านนายวิโรจน์ อัศวรังสี รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิ แอสไพเรอร์ส กรุ๊ป บอกว่า ปัจจุบันระบบดังกล่าวมีโรงเรียนสนใจแล้วกว่า 20 แห่ง

ซึ่งจากการสำรวจพบว่าคุณครูและผู้ปกครองพร้อมที่จะลงทุนด้านอุปกรณ์อย่างไอ แพด แต่ยังขาดเรื่องของเนื้อหา การพัฒนาระบบตำราเรียนดิจิทัลนี้  จึงเติมเต็มการเรียนรู้  และจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้คุณครูมีเทคนิคดึงดูดใจในการสอนเด็ก ๆ มากขึ้น จากเดิมที่มีเพียงแค่ชอล์กกับกระดานแต่ไม่ว่าเทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงไปแค่ ไหนหน้าที่ของคุณครูและหนังสือก็ยังเหมือนเดิม. 

นาตยา  คชินทร
nattayap@daliynews.co.th

มุมมองไอทีจากถ้วยไอศกรีม - 1001

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 00:00 น.
หลายวันก่อน ผมได้ยินน้องพนักงานร้านไอศกรีมตอบคำถามจากลูกค้าสาวสวยคนหนึ่ง “อันนี้ไซซ์แอลแล้วเหรอคะ ถ้วยเล็กจัง” คำตอบแสนธรรมดาที่ดูเหมือนการแก้ตัวเล็ก ๆ แต่แฝงไปด้วยความจริงว่า “ใช่ครับพี่ ไซซ์แอลครับ แต่ผมอัดซะแน่นเลยนะครับ”

ทำให้ผมนึกการ “อัดแน่น” ของสิ่งต่าง ๆ ในโลกไอทีขึ้นมาบ้าง แม้คุณอาจจะมองข้ามมันไป ทั้ง ๆ ที่เห็นและใช้งานมันอยู่ทุกวันก็ตาม เริ่มจากสิ่งที่เห็น ๆ กันอยู่ทุกวัน คุณเคยสงสัยบ้างไหมครับว่า ความละเอียดหน้าจอของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มีค่าเท่าไร แน่นอนว่า หน่วยวัดยอดฮิตที่ทุกคนรู้จักกัน คือ จำนวนพิกเซล หรือจำนวนเม็ดสีที่แสดงผลในจอภาพ แต่ถ้าลึกลับซับซ้อนกว่านั้น คือ จำนวนพิกเซลต่อหนึ่งนิ้ว (PPI: Pixels per inch) แถมด้วยจำนวนพิกเซลต่อหนึ่งองศา (PPD: Pixels per degree) ซึ่งในระยะหลังผู้ผลิตอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือหันมาเน้นกันที่เรื่องความ ละเอียดมากขึ้น มากกว่าจะไปแข่งขันกันที่ซีพียู (เริ่มตีบตันที่ Quad Core สูงกว่านี้ท่าจะลำบาก) หน้าจอชื่อดังที่ผู้ผลิตเข็นผลิตภัณฑ์ของตัวเองออกมา ก็มีไล่มาตั้งแต่เรตินาดิสเพลย์ (Retina Display) ที่ใช้กันในตระกูลไอแพดและไอโฟน
ค่ายอะโมเล็ดและซุปเปอร์อะโมเล็ด (Super Amoled) ของบรรดาคู่แข่ง เพียวโมชั่น เอชดีพลัส (PureMotion HD+) ของโนเกียลูเมีย 920 บราเวียเอ็นจินของโซนี่ ต่างก็มีความละเอียดสูงจนน่าตกใจ แถมด้วยเทคนิคพิเศษที่น่าประทับใจอีกหลายอย่าง

ไอแพดรุ่นใหม่ (New iPad) ที่วางขายกันอยู่นั้น มีความละเอียดหน้าจออยู่ที่ 2048x1536 ในขณะที่ไอโฟนห้ารุ่นล่าสุดนั้น มีความละเอียด 1136x640 (เทียบกับความละเอียดของหน้าจอ Full HD 1920x1080) เรียกได้ว่า ไอแพดรุ่นล่าสุดนั้น แสดงพิกเซลทั้งหมดของวิดีโอ Full HD ได้แบบสบาย ๆ ส่วนโทรศัพท์มือถือที่แสดงภาพได้ในระดับ HD (HD มีความละเอียด 1280x720) ก็มีหลายรุ่นที่อัดพิกเซลลงไปจนแน่นจอ ก็มีกาแล็คซี่โน้ต 2 และกาแล็คซี่ S3 ซึ่งมีความละเอียดเท่ากัน แต่จำนวนพิกเซลต่อนิ้วของ S3 สูงกว่ากาแล็คซี่โน้ต 2 อยู่เล็กน้อย (หน้าจอเล็กกว่า จึงจำเป็นต้องอัดพิกเซลลงไปด้วยอัตรามากกว่า ซึ่งก็แปลว่า S3 จะคมชัดกว่า) ส่วนโนเกียลูเมีย 920 มีความละเอียดสูงกว่า HD นิดหน่อย อยู่ที่ 1280x768 เท่ากันกับ Nexus 4, Sony Xperia V เป็นรองกาแล็คซี่โน้ต รุ่นแรกซึ่งมีความละเอียดที่ 1280x800

เฉือนกันไปเฉือนกันมาจนแทบจะแยกกันไม่ออกเลยใช่ไหมครับ แต่คนที่อัดพิกเซลลงไปเยอะที่สุดในบรรดาสมาร์ทโฟนหน้าจอประมาณไม่เกิน 5 นิ้ว ในตลาด ณ เวลาปัจจุบัน คือใคร คุณผู้อ่านทราบไหมครับ

คำตอบ คือ ไม่ได้มีแค่เจ้าเดียวครับ มีออปโปไฟนด์ 5 (Oppo Find 5) โซนี่ Xperia Z เอชทีซีบัตเตอร์ฟลาย (HTC Butterfly) ที่มาพร้อมกับหน้าจอความละเอียด 1920x1080 พิกเซล ของไฟนด์ 5 นั้นมาในหน้าจอ 5 นิ้ว ทำให้จำนวนพิกเซลต่อนิ้วสูงถึง 441 ส่วน Xperia Z มีจำนวนพิกเซลต่อนิ้วที่ 443 และบัตเตอร์ฟลาย 440 พิกเซลต่อนิ้ว ทิ้งคู่แข่งอื่น ๆ

อย่างขาดลอย (ตัวเลขสูงสุดของคู่แข่งกลุ่มเอชดียังอยู่ที่ 300 กว่า ๆ) ซึ่งเท่าที่หลายคนรีวิวมา ก็พบว่า มันคมชัดน่าประทับใจจริง ๆ
นี่แค่สงครามระหว่างสมาร์ทโฟนเท่า

นั้นนะครับ ยังไม่ได้เลยไปถึงแท็บเล็ตมากมาย ไว้มีเวลาผมจะเล่าให้ฟังต่อครับ.

สุกรี สิทธุภิญโญ
(sukree.s@chula.ac.th)

สื่อโฆษณาดิจิทัลระบบใหม่บนคลาวด์

วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 00:00 น.  จากเดลินิวส์
ซิสโก้-ฮาตาริ ไวร์เลส ขยายฐานบริการสื่อโฆษณาดิจิทัลบนระบบคลาวด์ ผ่านลูกค้าทรู อินเทอร์เน็ต หวังเพิ่มลูกค้ากว่า 2 พันรายภายในปีนี้
  
นายวิชัย วนวิทย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ฮาตาริ ไวร์เลส จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทร่วม บริษัท ซิสโก้ ประเทศไทย นำเสนอบริการสื่อประชาสัมพันธ์ดิจิทัลบนระบบคลาวด์ หรือฮาตาริ แอดเน็ต เมื่อกลางปี 2555 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มีลูกค้าใช้บริการกว่า 50 ราย และให้บริการไปแล้วกว่า 6 พันจุดทั่วประเทศ
  
ล่าสุด ได้ร่วมมือกับทรู อินเทอร์เน็ตในการขยายฐานลูกค้า โดยจะนำเสนอเป็นบริการเสริมกับกลุ่มลูกค้าองค์กรของทรู อินเทอร์เน็ต ที่มีกว่า 3 พันราย คาดว่าปีนี้จะทำให้ฮาตาริ แอดเน็ต มีลูกค้าเพิ่มกว่า 2 พันรายและมีรายได้เพิ่มจากปีที่ผ่านมากว่า 100% นอกจากนี้ในอนาคตจะมีการต่อยอดพัฒนาบริการไปสู่การใช้เทคโนโลยีเทเล พรีเซ็นต์ในการสร้างสื่อโฆษณาดิจิทัลที่สามารถโต้ตอบระหว่างลูกค้ากับผู้ขาย ได้ทันที
  
สำหรับบริการฮาตาริ แอดเน็ต คือสื่อประชาสัมพันธ์ดิจิทัลผ่านทางจอภาพรูปแบบใหม่ที่นำมาแทนป้ายประกาศ และสามารถบริหารจัดการข้อมูลได้ผ่านระบบคลาวด์เซอร์วิสเป็นรายแรกในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ เหมาะสำหรับองค์การธุรกิจที่มีหลายสาขา เช่น ธนาคาร ร้านค้าปลีกหรือผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องลงทุนระบบบริหารจัดการ และอุปกรณ์ เพียงชำระค่าบริการเป็นรายเดือน ซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถจัดการข้อมูลได้จากระยะไกล นำเสนอเนื้อหาข้อมูลได้แบบเรียลไทม์อย่างต่อเนื่องบนหลายหน้าจอหรือส่ง เนื้อหาได้หลากหลายรูปแบบไปยังหน้าจอที่เฉพาะเจาะจงตามเวลาที่กำหนดได้.

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

 เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์กับการศึกษาไทย


ใน ศตวรรษที่ 21 ซึ่งถือว่าเป็นยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลกในหลายๆด้านทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมอันนำไปสู่การ ปรับตัวเพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ทุก ประเทศทั่วโลกกำลังมุ่งสู่กระแสใหม่ของการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า สังคมความรู้ (KnowledgeSociety) และระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-Based Economy) ที่จะต้องให้ความสำคัญต่อการใช้ความรู้และนวัตกรรม (Innovation) เป็นปัจจัยในการพัฒนาและการผลิตมากกว่าการใช้เงินทุนและแรงงาน
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้ ซึ่งประกอบกันเป็น “สารสนเทศ” นั้น สามารถลื่นไหลได้สะดวก รวดเร็ว จนสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ระดับบุคคลขึ้นไปถึงระดับองค์กรอุตสาหกรรม ภาคสังคม ตลอดจนในระดับประเทศและระหว่างประเทศ จนกระทั่งภาวะ “ไร้พรหมแดน” อันเนื่องมาจากอิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว ได้เกิดขึ้นในกิจกรรมและวงการต่างๆ และนับเป็นความกลมกลืนสอดคล้องกันอย่างยิ่ง ที่การพัฒนาบุคลากรในสังคมอันประกอบด้วยภาคการศึกษา และการฝึกอบรมเป็นเรื่องราวของการเรียนรู้สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นข้อมูล (Data) ข่าวสาร (Information)ก็ตาม ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นเครื่องมือที่สามารถนำประโยชน์มาสู่วงการ ศึกษา ได้อย่างเหมาะสมหากรู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์และคุ้มค่าต่อการลงทุน (ไพรัช ธัชยพงษ์และพิเชษ ดุรงคเวโรจน์ .2541
เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์ที่เป็นเทคโนโลยีระดับสูงอย่างหนึ่งที่นับว่ามีบทบาทอย่างยิ่งได้แก่ “คอมพิวเตอร์”(Computer) ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกวงการ โดยเฉพาะวงการศึกษาได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นในด้านการบริ หาร การบริการ และการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน เป็นต้น
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525 ได้ให้ความหมายของ “คอมพิวเตอร์” ไว้ว่า”เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์”คอมพิวเตอร์ จึงเป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานแทนมนุษย์ในด้าน การคำนวณและสามารถจำข้อมูลทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้ เพื่อการเรียกใช้งานครั้งต่อไป รวมทั้งสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ (Symbol) ได้ด้วยความเร็วสูงโดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม นอกจากนี้ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ เช่น การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลไว้ในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้ (ตวงแสง ณ นคร .2542)
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในวงการศึกษา หรืออาจเรียกว่า คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา (Computer-Based Education, Instructional Computer : IC, Computer-Based Instruction : CBI) มีความหมายเหมือนกันคือ การนำคอมพิวเตอร์ มาใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษา ไม่ว่าจะ เป็นการจัดการเรียนการสอน การลงทะเบียน การจัดทำบัตรนักศึกษา การจัดทำผลการเรียนการสอนรวมไป จนถึงการออกใบรับรองการจบหลักสูตร
Robert Taylor นักเทคโนโลยีการศึกษา ได้แบ่งการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ไว้ในหนังสือ the Computer in the School : Tutor, Tutee โดยได้แบ่งการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในโรงเรียนออกเป็น 3 ลักษณะคือ การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของติวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของอุปกรณ์ การเรียนการสอนและการใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของผู้เรียน (ดิเรก ธีระภูธร .2545)
แต่กระบวนการในการจัดการศึกษาในภาพรวม ไม่ได้หมายถึงสถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทั้งนี้ยังมีหน่วยงานทางการศึกษาและองค์กรอื่นที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการ บริหารและสนับสนุนการจัดการศึกษาด้วย ฉะนั้นบทบาทของคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการศึกษา จึงแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหาร (computer Applications into Administration)
การบริหารการศึกษานับเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทาง นโยบาย อันนำไปสู่แนวทางปฏิบัติในการจัดการศึกษา ทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น สิ่งสำคัญในการที่จะช่วยให้บริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพก็คือความพร้อม ของข้อมูลในการบริหารจัดการเพื่อการตัดสินใจและกำหนดนโยบายการศึกษา คอมพิวเตอร์จึงเข้ามามีบทบาทในการบริหารการศึกษามากขึ้น ซึ่งช่วยให้การดำเนินงานตั้งอยู่บนฐานข้อมูลที่ชัดเจนถูกต้องและเกิด ประสิทธิภาพสูงสุด สรุปได้ดังนี้
1.1 การบริหารงานทั่วไป เป็นการนำคอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหารงานบุคคล งานธุรการ การเงินและบัญชีการประชาสัมพันธ์ รวมถึงการจัดทำระบบฐานข้อมูล (Management Information System :MIS) เพื่อประโยชน์ในการวางแผนและบริหารการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
1.2 งานบริหารการเรียนการสอน เป็นการนำคอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหารของครูผู้สอนนอกเหนือจากงานด้านการสอน ปกติ เช่น งานทะเบียน งานด้านเอกสาร การจัดตารางสอน ตารางสอบ การตรวจและการเก็บรวบรวมคะแนน การสร้าง-วิเคราะห์ข้อสอบ การวัดและประเมินผลการเรียน เป็นต้น
2. คอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการเรียนการสอน (Computer -Managed Instruction)
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ครูผู้สอนไม่ต้องเสียเวลากับการงานบริหาร ครูผู้สอนจะได้มีเวลาไปปรับปรุงบทเรียนให้ทันสมัยและมีเวลาให้กับนักเรียน มากขึ้น เช่น การจัดเลือกข้อสอบ การตรวจและให้คะแนนและวิเคราะห์ข้อสอบ การเก็บประวัตินักเรียนเฉพาะวิชาที่สอนเพื่อดูพัฒนาการด้านการเรียนและการ ให้คำปรึกษา และช่วยในการจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการเรียนการสอนของวิชาที่สอน รวมถึงการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการเรียนการสอนจะทำให้ครูผู้สอนสามารถ วิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อออกแบบและพัฒนาระบบการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงกับวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้เรียน
3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer -Assisted Instruction : CAI)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียน แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือสามารถ โต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้ เช่นเดียวกับการสอนระหว่างครูกับนักเรียนที่อยู่ในห้องตามปกติ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีหลายประเภทตามวัตถุประสงค์ที่จะให้นักเรียนได้เรียน กล่าวคือ ประเภทติวเตอร์ ประเภทแบบฝึกหัด ประเภทการจำลอง ประเภทเกม ประเภทแบบทดสอบซึ่งในแต่ละประเภทก็มีจุดมุ่งหมายในการให้ความรู้แก่ผู้เรียน แต่วิธีการที่แตกต่างกันไป ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนคือช่วยลดความแตกต่างระหว่างผู้เรียน เช่นผู้ที่มีผลการเรียนต่ำ ก็สามารถชดเชยโดยการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ และสำหรับผู้มีผลการเรียนสูงก็สามารถเรียนเสริมบทเรียนหรือเรียนล่วงหน้า ก่อนที่ผู้สอนจะทำการสอนก็ได้
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
สรุป
แนวโน้มในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษาในปัจจุบันและอนาคตจะเป็นรูป แบบของการเรียนการสอน โดยนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มาผสมผสานกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมีลักษณะเฉพาะ คือ มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลผ่านระบบ World Wide Web ในการใช้เพื่อการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction : WBI) หรือ E-learning ซึ่งวงการศึกษาคงจะหลีกเลี่ยงได้ยากยิ่ง
เอกสารและแหล่งข้อมูลประกอบการค้นคว้า
กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ อรุณการพิมพ์ .2543
ไพรัช ธัชยพงษ์และพิเชษ ดุรงคเวโรจน์. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา.
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ .2541
ตวงแสง ณ นคร. การใช้สื่อการสอน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.กรุงเทพฯ .2542
ดิเรก ธีระภูธร. การใช้คอมพิวเตอร์ในวงการศึกษา. [On-Line]
Available:http://www.edu.nu.ac.th/wbi/366514/index.htm